|
RTA Spike-MR |
|
RTA Spike-MR |
Spike (สไปค์) เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านรถถังแบบยิงแล้วลืม (Fire-and-forget Anti-tank guided Missile) ที่สามารถใช้ยิงต่อต้านบุคคล (Anti-personnel Missile) โดยใช้หัวรบต่อต้านรถถังระเบิดแรงสูง (High-explosive Anti-tank: HEAT) ซึ่งในปี 2024 นี้ ถือเป็นรุ่นที่ 6 ที่ได้รับการพัฒนา และออกแบบโดยบริษัท Rafael Advanced Defense Systems รัฐอิสราเอล โดยแพลตฟอร์มการใช้งานมีให้เลือหลายรูปแบบ ได้แก่ Spike แบบการพกพาติดตัวทหาร, แบบติดตั้งแท่นปล่อยบนยานพาหนะ, แบบติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ และแบบที่ใช้งานทางทะเล
|
Spike ATGM Command & launcher unit (CLU) with mock-up Spike-LR missile mounted on a tripod at Singapore Army Open House 2007 |
อาวุธปล่อยชนิดนี้ สามารถโจมตี และทำลายเป้าหมายที่อยู่ในระยะสายตาของเครื่องยิง (ยิงแล้วลืม) และอาวุธปล่อยบางรุ่น สามารถทำการโจมตีทางด้านบนได้ ด้วยวิธี "ยิง สังเกต และอัพเดต" (เป็นการล็อคออน หลังการปล่อยตัว) โดยการติดตามเป้าหมาย หรือสลับไปยังเป้าหมายอื่น ผ่านทางแสงสายไฟเบอร์ออปติก หรือตัวเชื่อมโยง RF ในกรณีของรุ่น Spike-NLOS ระยะไกลที่ติดตั้งบนยานพาหนะ โดยการทำงานในลักษณะนี้จะเหมือนกับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านรถถังแบบ FGM-148 Javelin ของสหรัฐ ที่มีโหมด Top Attack โดยอาวุธปล่อยจะไม่พุ่งเข้าหารถถังตรง ๆ เหมือนอาวุธปล่อยต่อสู้รถถังทั่วไป แต่วิถีอาวุธปล่อย จะขึ้นไปเป็นมุมสูงประมาณ 150 เมตรก่อน จากนั้นจะพุ่งลงมาหาป้อมปืนรถถังเป็นวิถีโค้งจากด้านบน ซึ่งเป็นจุดที่รถถังมีเกราะบอบบางมาก
สำหรับกองทัพบกไทยนั้น ได้นำ Spike รุ่น MR เข้ามาประจำการในปีพ.ศ. 2563 หลังจากเลื่อนโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านรถถังแบบใหม่ เพื่อทดแทน M47 Dragon และปืนไร้แรงสะท้อน M40 ขนาด 106 มม. มาเกือบสิบปี โดยในต้นปีพ.ศ. 2563 นั้น บริษัท Rafael รัฐอิสราเอล ได้ยืนยันการส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ SPIKE MR แก่กองทัพบกไทย สำหรับเข้าประจำการใน กองพลทหารราบที่ ๖ ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จังหวัดร้อยเอ็ด
|
Israeli soldier with MR/LR type Spike launcher |
Spike-MR เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีที่ใช้ระบบตรวจจับ Electro-Optical (EO) แบบยิงแล้วลืม ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล Spike ประกอบไปด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดเล็กแบบ Spike-SR, Spike-MR, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดใหญ่แบบ Spike-LR2, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขยายระยะยิงแบบ Spike-ER2 และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังระยะยิงนอกระยะสายตาแบบ Spike-NLOS
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล Spike ใช้ระบบตรวจจับแบบ EO สามารถติดตั้งกับฐานยิงได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การพกติดตัวของทหารราบ, การติดตั้งบนยานยนต์, การติดตั้งบนเรือเร็วผิวน้ำ และการติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ โดยมีระยะยิงไกลสุดถึง 32 กิโลเมตร และมีขีดความสามารถการยิง และปรับปรุงข้อมูลเป้าหมายใหม่ขณะลูกจรวดบินโคจรได้
|
ประเทศผู้ใช้งาน Spike ทั่วโลก |
ปัจุจุบัน ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล Spike ได้ถูกขายให้แก่ 41 ประเทศทั่วโลกแล้ว รวมถึงชาติสมาชิกกองกำลังเนโท 19 ประเทศ ซึ่งมีการส่งมอบอาวุธปล่อยมากกว่า 40,000 นัด และมากกว่า 7,000 นัดที่ถูกยิงในการทดสอบ และในการรบ
ข้อมูลของระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล “Spike ATGM”
- ประเภท: อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบยิงแล้วลืม (Fire-and-forget Anti-tank guided Missile)
- ผู้ออกแบบ: Rafael Advanced Defense Systems รัฐอิสราเอล
- ผู้ผลิต: Rafael Advanced Defense Systems & EUROSPIKE GmbH, Diehl Defence, Rheinmetall Defence Electronics และ ST Engineering (สิงคโปร์)
- ใช้งานจริงในสงคราม: 1982 Lebanon War, Second Intifada, Iraq War, 2006 Lebanon War, War in Afghanistan (2001–2021), Gaza War, 2014 Israel–Gaza conflict, Second Nagorno-Karabakh War และ 2023 Israel–Hamas war
- ราคาต่อนัด: 5.13 - 9.17 ล้านบาท ($140,000 - $249,966)
- จำนวนการผลิต: 40,000 นัด และ 7,000 นัดได้ทดสอบยิง/ ใช้ในการรบจริง
- แพลตฟอร์มการยิง: Command & Launch Unit (CLU), Integrated Control Launch Unit (ICLU) และ Vehicle Missile Launching System (VMLS)
- น้ำหนัก: Spike-ER รุ่นติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ > น้ำหนักอาวุธปล่อยในท่อยิง 34 กิโลกรัม (74 Ib 15 oz), แท่นยิงหนัก 55 กิโลกรัม (121 Ib 4 oz) และแท่นยิง + อาวุธปล่อย 4 นัด หนัก 187 กิโลกรัม (412 Ib 4 oz) l Spike-MR/LR รุ่นภาคพื้น > น้ำหนักอาวุธปล่อย 14 กิโลกรัม (30 Ib 14 oz), แท่นยิง Command & launch unit (CLU) หนัก 5 กิโลกรัม (11 Ib), ขาตั้งแท่นยิงหนัก 2.8 กิโลกรัม (6 Ib 3 oz), แบตเตอรี่หนัก 1 กิโลกรัม (2 Ib 3 oz) และกล้องเล็งความร้อนหนัก 4 กิโลกรัม (8 Ib 13 oz) l Spike-SR น้ำหนักในท่อยิง 9.6 กิโลกรัม (21 Ib 3 oz)
- ความยาว: Sike-MR/LR 1.2 เมตร (3 ft 11 in), Sike-ER 1.67 เมตร (5 ft 6 in)
- เส้นผ่าศูนย์กลาง: Spike-MR/LR 130 มิลลิเมตร (5.1 in) และ Spike-SR 170 มิลลิเมตร (6.7 in)
- เวลาพร้อมในการยิง: 30 วินาที และยิงครั้งต่อไปใน 15 วินาที
- ระยะยิงหวังผล: Spike-SR 50 - 1,500 เมตร, Spike-MR 200 - 2,500 เมตร, Spike-LR 200 - 4,000 เมตร, Spike-LR II 200 - 5,500 เมตร, Spike-ER 400 - 8,000 เมตร, Spike-ER II 400 - 10,000 เมตร และ Spike-NLOS 600 - 25,000 เมตร
- กล้องขยาย: 10 x กำลังขยายแบบออปติคอล (Optical Sight)
- หัวรบ: หัวรบระเบิดคู่ (Tandem-charge HEAT) ดินระเบิด HV10 = HMX + VITON 13 กิโลกรัม
- กลไกการระเบิด: Piezoelectric trigger
- เครื่องยนต์: จรวดขับเคลื่อนเชื้อเพลิงแข็ง (Solid-propellant Rocket)
- อายุการใช้งาน: 10 - 20 ปี
- ระบบนำทาง: นำวิถีด้วยความร้อน (Infrared homing) – กล้อง Electro-optical (CCD, การถ่ายภาพอินฟราเรด (IIR) หรือ CCD + IIR คู่), CCD แบบพาสซีฟ หรือตัวค้นหา CCD + IIR seeker คู่
|
Cut away diagram of Spike ATGM. |
|
Spike-LR II |
|
Frontal close-up of the Spike missile's Command & launch unit (CLU) with thermal-imaging sight, tripod mount and an attached dummy missile canister. |
|
Spike-ER missiles mounted on a Rafael Typhoon MLS-ER Remote Weapons System onboard an MPAC Mk. III attack boat of the Philippine Navy. |