จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กองทัพเรือไทย (Royal Thai Navy: RTN) เผยแพร่คลิปเรือหลวงจักรีนฤเบศร (CVH-911) ออกปฏิบัติการ ในการฝึกภาคสนาม/ ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) ร่วมกับเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (FFG-471) ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ 2567

 





เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (เมื่อวาน) ที่ผ่านมา กองทัพเรือไทย (Royal Thai Navy: RTN) ได้ออกเผยแพร่คลิปวิดีโอ เรือหลวงจักรีนฤเบศร (CVH-911) ออกปฏิบัติการ ในการฝึกภาคสนาม/ ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) ร่วมกับเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (FFG-471) ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งเป็นการฝึกการปฏิบัติของหน่วยกำลังรบ และการสนับสนุนของหน่วยที่เกี่ยวข้อง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของกำลังพล ตลอดจนขีดความสามารถของยุทธกร เพื่อทำให้พี่น้องประชาชนมั่นใจในการปฎิบัติภารกิจของกองทัพเรือต่อไป


Source: https://www.facebook.com/share/v/YCzx3pLqpEVMeWuq/?mibextid=WC7FNe


สำหรับภาพ และวิดีโอการฝึกยิงตอร์ปิโดเบาแบบ Raytheon Mark 46 torpedo (Mk 46) จากเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช, เรือหลวงนเรศวร และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบ S-70B-7 Seahawk รอทางเพจกองทัพเรือปล่อยอกมานะครับ แล้วจะมาอัพเดทให้ครับผม


‼️ชัดแล้วนะครับ สำหรับคนที่บอกว่า CVH-911 เอาแต่จอดโชว์ ไม่ได้ใช้งาน ใช้งานไม่ได้ ไม่ได้ออกทะเลนานแล้ว บลา ๆ ๆ‼️
























ทำความรู้จัก “Spike-MR“ อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านรถถัง (Anti-tank Guided Missile: ATGM) ที่ล้ำหน้าที่สุดของกองทัพบกไทย (Royal Thai Army: RTA) ในปัจจุบัน

RTA Spike-MR

RTA Spike-MR

Spike (สไปค์) เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านรถถังแบบยิงแล้วลืม (Fire-and-forget Anti-tank guided Missile) ที่สามารถใช้ยิงต่อต้านบุคคล (Anti-personnel Missile) โดยใช้หัวรบต่อต้านรถถังระเบิดแรงสูง (High-explosive Anti-tank: HEAT) ซึ่งในปี 2024 นี้ ถือเป็นรุ่นที่ 6 ที่ได้รับการพัฒนา และออกแบบโดยบริษัท Rafael Advanced Defense Systems รัฐอิสราเอล โดยแพลตฟอร์มการใช้งานมีให้เลือหลายรูปแบบ ได้แก่ Spike แบบการพกพาติดตัวทหาร, แบบติดตั้งแท่นปล่อยบนยานพาหนะ, แบบติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ และแบบที่ใช้งานทางทะเล

Spike ATGM Command & launcher unit (CLU) with mock-up Spike-LR missile mounted on a tripod at Singapore Army Open House 2007

อาวุธปล่อยชนิดนี้ สามารถโจมตี และทำลายเป้าหมายที่อยู่ในระยะสายตาของเครื่องยิง (ยิงแล้วลืม) และอาวุธปล่อยบางรุ่น สามารถทำการโจมตีทางด้านบนได้ ด้วยวิธี "ยิง สังเกต และอัพเดต" (เป็นการล็อคออน หลังการปล่อยตัว) โดยการติดตามเป้าหมาย หรือสลับไปยังเป้าหมายอื่น ผ่านทางแสงสายไฟเบอร์ออปติก หรือตัวเชื่อมโยง RF ในกรณีของรุ่น Spike-NLOS ระยะไกลที่ติดตั้งบนยานพาหนะ โดยการทำงานในลักษณะนี้จะเหมือนกับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านรถถังแบบ FGM-148 Javelin ของสหรัฐ ที่มีโหมด Top Attack โดยอาวุธปล่อยจะไม่พุ่งเข้าหารถถังตรง ๆ เหมือนอาวุธปล่อยต่อสู้รถถังทั่วไป แต่วิถีอาวุธปล่อย จะขึ้นไปเป็นมุมสูงประมาณ 150 เมตรก่อน จากนั้นจะพุ่งลงมาหาป้อมปืนรถถังเป็นวิถีโค้งจากด้านบน ซึ่งเป็นจุดที่รถถังมีเกราะบอบบางมาก


Italian Army 8th Bersaglieri Regiment Spike launch during an exercise


สำหรับกองทัพบกไทยนั้น ได้นำ Spike รุ่น MR เข้ามาประจำการในปีพ.ศ. 2563 หลังจากเลื่อนโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านรถถังแบบใหม่ เพื่อทดแทน M47 Dragon และปืนไร้แรงสะท้อน M40 ขนาด 106 มม. มาเกือบสิบปี โดยในต้นปีพ.ศ. 2563 นั้น บริษัท Rafael รัฐอิสราเอล ได้ยืนยันการส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ SPIKE MR แก่กองทัพบกไทย สำหรับเข้าประจำการใน กองพลทหารราบที่ ๖ ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จังหวัดร้อยเอ็ด


Israeli soldier with MR/LR type Spike launcher


Spike-MR เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีที่ใช้ระบบตรวจจับ Electro-Optical (EO) แบบยิงแล้วลืม ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล Spike ประกอบไปด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดเล็กแบบ Spike-SR, Spike-MR, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดใหญ่แบบ Spike-LR2, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขยายระยะยิงแบบ Spike-ER2 และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังระยะยิงนอกระยะสายตาแบบ Spike-NLOS



ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล Spike ใช้ระบบตรวจจับแบบ EO สามารถติดตั้งกับฐานยิงได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การพกติดตัวของทหารราบ, การติดตั้งบนยานยนต์, การติดตั้งบนเรือเร็วผิวน้ำ และการติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ โดยมีระยะยิงไกลสุดถึง 32 กิโลเมตร และมีขีดความสามารถการยิง และปรับปรุงข้อมูลเป้าหมายใหม่ขณะลูกจรวดบินโคจรได้


ประเทศผู้ใช้งาน Spike ทั่วโลก

ปัจุจุบัน ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล Spike ได้ถูกขายให้แก่ 41 ประเทศทั่วโลกแล้ว รวมถึงชาติสมาชิกกองกำลังเนโท 19 ประเทศ ซึ่งมีการส่งมอบอาวุธปล่อยมากกว่า 40,000 นัด และมากกว่า 7,000 นัดที่ถูกยิงในการทดสอบ และในการรบ


Spike-NLOS being fired from a Plasan Sand Cat.

ข้อมูลของระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล “Spike ATGM”


- ประเภท: อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบยิงแล้วลืม (Fire-and-forget Anti-tank guided Missile)

- ผู้ออกแบบ: Rafael Advanced Defense Systems รัฐอิสราเอล

- ผู้ผลิต: Rafael Advanced Defense Systems & EUROSPIKE GmbH, Diehl Defence, Rheinmetall Defence Electronics และ ST Engineering (สิงคโปร์)

- ใช้งานจริงในสงคราม: 1982 Lebanon War, Second Intifada, Iraq War, 2006 Lebanon War, War in Afghanistan (2001–2021), Gaza War, 2014 Israel–Gaza conflict, Second Nagorno-Karabakh War และ 2023 Israel–Hamas war

- ราคาต่อนัด: 5.13 - 9.17 ล้านบาท ($140,000 - $249,966)

- จำนวนการผลิต: 40,000 นัด และ 7,000 นัดได้ทดสอบยิง/ ใช้ในการรบจริง

- แพลตฟอร์มการยิง: Command & Launch Unit (CLU), Integrated Control Launch Unit (ICLU) และ Vehicle Missile Launching System (VMLS)

- น้ำหนัก: Spike-ER รุ่นติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ > น้ำหนักอาวุธปล่อยในท่อยิง 34 กิโลกรัม (74 Ib 15 oz), แท่นยิงหนัก 55 กิโลกรัม (121 Ib 4 oz) และแท่นยิง + อาวุธปล่อย 4 นัด หนัก 187 กิโลกรัม (412 Ib 4 oz) l Spike-MR/LR รุ่นภาคพื้น > น้ำหนักอาวุธปล่อย 14 กิโลกรัม (30 Ib 14 oz), แท่นยิง Command & launch unit (CLU) หนัก 5 กิโลกรัม (11 Ib), ขาตั้งแท่นยิงหนัก 2.8 กิโลกรัม (6 Ib 3 oz), แบตเตอรี่หนัก 1 กิโลกรัม (2 Ib 3 oz) และกล้องเล็งความร้อนหนัก 4 กิโลกรัม (8 Ib 13 oz) l Spike-SR น้ำหนักในท่อยิง 9.6 กิโลกรัม (21 Ib 3 oz)

- ความยาว: Sike-MR/LR 1.2 เมตร (3 ft 11 in), Sike-ER 1.67 เมตร (5 ft 6 in) 

- เส้นผ่าศูนย์กลาง: Spike-MR/LR 130 มิลลิเมตร (5.1 in) และ Spike-SR 170 มิลลิเมตร (6.7 in)

- เวลาพร้อมในการยิง: 30 วินาที และยิงครั้งต่อไปใน 15 วินาที

- ระยะยิงหวังผล: Spike-SR 50 - 1,500 เมตร, Spike-MR 200 - 2,500 เมตร, Spike-LR 200 - 4,000 เมตร, Spike-LR II 200 - 5,500 เมตร, Spike-ER 400 - 8,000 เมตร, Spike-ER II 400 - 10,000 เมตร และ Spike-NLOS 600 - 25,000 เมตร

- กล้องขยาย: 10 x กำลังขยายแบบออปติคอล (Optical Sight)

- หัวรบ: หัวรบระเบิดคู่ (Tandem-charge HEAT) ดินระเบิด HV10 = HMX + VITON 13 กิโลกรัม

- กลไกการระเบิด: Piezoelectric trigger

- เครื่องยนต์: จรวดขับเคลื่อนเชื้อเพลิงแข็ง (Solid-propellant Rocket)

- อายุการใช้งาน: 10 - 20 ปี

- ระบบนำทาง: นำวิถีด้วยความร้อน (Infrared homing) – กล้อง Electro-optical (CCD, การถ่ายภาพอินฟราเรด (IIR) หรือ CCD + IIR คู่), CCD แบบพาสซีฟ หรือตัวค้นหา CCD + IIR seeker คู่


Cut away diagram of Spike ATGM.

Spike-LR II

Frontal close-up of the Spike missile's Command & launch unit (CLU) with thermal-imaging sight, tripod mount and an attached dummy missile canister.

Spike-ER missiles mounted on a Rafael Typhoon MLS-ER Remote Weapons System onboard an MPAC Mk. III attack boat of the Philippine Navy.